ออกแบบ DevOps Architecture CI/CD Pipeline ให้เหมาะกับงาน และองค์กร

DevOps Architecture CI/CD Pipeline

สวัสดีครับ .. DevOps 101 ของเรา วันนี้มีโจทย์ มาอันนึงครับ ให้ออกแบบ Architecture, Tech Stack และ CI/CD Pipeline ของ Application ที่มีคนใช้งานจำนวนมาก app นึง ให้กับองค์กร ขนาดใหญ่ ระดับพนักงาน 200,000 คน ++ ..

จริงๆ ในการออกแบบ ไม่มีอะไรถูกอะไรผิดครับ .. หลักการง่ายๆ ก็คือ “Simply the best” .. ทำให้ deploy ง่ายๆ .. รองรับ load สูงๆ ให้ได้ .. มีระบบ Monitoring ที่ดี .. และเหมาะสม กับงานและองค์กร ..

เนื่องจาก ทางองค์กร มี Single Sign-On อยู่แล้ว ซึ่งสามารถใช้งานผ่าน AWS Cognito ได้ .. เราก็เลยสามารถ ใช้งานได้เลย และเอาไปต่อกับ CI/CD Tools ที่จำเป็นของเราได้ ไม่ว่าจะเป็น GitLab, Jenkins, Nexus Repository และอื่นๆ ในอนาคต ..

ในที่นี้ ตัว Application เราเลือกพัฒนาโดยใช้ Next.js เพราะว่า ต้องรองรับ user ที่เข้าใช้งานหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น บน Desktop และ Mobile .. และทางทีม Developer มีความเชี่ยวชาญในส่วนของ Next.js อยู่แล้ว .. ในส่วนของ CI/CD Tools เราเลือกใช้ Jenkins และทำ CI/CD Pipeline เป็น Jenkinsfile (Declarative Pipeline) แบบง่ายๆ stage ตรงไปตรงมา ใครมาอ่าน ก็เข้าใจ .. เพราะว่าอนาคต เราอยากเอา template นี้ ไป reuse ให้ทีมอื่น ในองค์กร เราได้ใช้ตามด้วย ..

ในส่วนของ Artifactory ที่ใช้เก็บ Docker Images และ binary files ต่างๆ เราเลือกใช้ Nexus Repository เป็น private repository ของเรา .. ส่วน SCM (Source Code Management) อันนี้จริงๆ เราคิดว่า เป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะ github, gitlab, ecr, bitbucket .. แต่องค์กรเรามี GitLab อยู่แล้ว ก็เลยใช้ตัวนี้ไปเลย .. ส่วนของ static code scan เราเลือกใช้ SonarQube แต่สิ่งที่เราอยากดูจริงๆ ก็เป็นส่วนของ code coverage มากกว่า ..

ในส่วนของ Server ที่เราจะใช้ในการ deploy ตัว Application ของเราขึ้นไป เราเลือกใช้ Amazon EKS (มันคือ k8s cluster บน AWS) เพราะว่าเราไม่ต้องวุ่นวายในการสร้าง k8s cluster ขึ้นมาใช้งานเอง และตัว cost ของ Amazon EKS ก็ไม่ได้แพงกว่า EC2 ธรรมดา เท่าไรนัก ..

ทำไมถึงเลือกใช้ EKS ไม่ใช้ ECS ?

– ผมเองต้องออกตัวไว้ก่อนครับ ว่าความรู้เกี่ยวกับ ECS ของผม แทบจะเป็น 0 .. แต่จากการได้เข้า training กับ AWS ในส่วนของการใช้งาน ECS + DevOps .. ทำให้ผมพอได้รู้บ้างว่า ตัว ECS ทำงานอย่างไร .. เราสามารถ ทำอะไรกับมันได้บ้าง .. ทำให้ผมตัดสินใจได้ทันที ว่างั้นเราไป EKS เถอะ .. เพราะว่า ในการทำ Application ที่รองรับคนใช้งานจำนวนมากนั้น .. การ scale และการ monitoring metrics ต่างๆ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งผมเองคิดว่า EKS ที่เป็น k8s cluster eco system มัน flexible กว่า .. อาจจะเป็นเหตุผลที่เอนเอียงนิดหน่อย จากการที่ผมคุ้นเคยกับ Container Platform ที่เป็น k8s ด้วย .. (k8s, OpenShift)

ในส่วนของ Dashboard & Monitoring Tools ในที่นี้เราเลือกใช้ APM (Application Performance Monitoring) + ELK Stack ในการ monitoring Application ของเรา ที่เป็น Next.js .. ในส่วนของตัว EKS (k8s Cluster) เราเลือกใช้ Lens + Prometheus เป็น manage และ monitoring metrics ต่างๆ .. แต่ตัว Lens เอง มันคือดูแบบ เครื่องใครเครื่องมัน .. อนาคต ถ้าเราอยากทำเป็น dashboard ให้ทั้งทีม ได้ดูผ่านจอ TV LED ร่วมกัน ก็น่าจะเอา Grafana มาทำ dashboard ในส่วนนี้ .. ส่วนตัว Alert Notification เราใช้เป็น webhook ของ MS Teams เพราะว่าทีมเรา และองค์กรเรา ใช้ MS Teams เป็นหลัก ในการทำงานอยู่แล้ว ..

Tech Stack

– Next.js
– GitLab
– Jenkins
– Nexus Repository
– SonarQube
– nginx
– Docker
– Kubernetes (k8s)
– AWS Cognito
– AWS EKS
– Elasticsearch
– Logstash + APM
– Kibana
– Prometheus
– Lens/Grafana
– Microsoft Teams

Jenkins Pipeline Examples

https://github.com/pornpasok/demo-app-k8s

สำหรับท่านใด ที่สนใจ ในการออกแบบ Architecture, Tech Stack และ CI/CD Pipeline ก็สามารถ มา comment พูดคุย แลกเปลี่ยน ปรึกษากันได้ตรงนี้นะครับ .. อย่างที่ผมเน้นย้ำตลอด ไม่มีแบบไหนผิด แบบไหนถูก .. แต่แบบไหนที่เหมาะกับเรา นั่นแหละ คือดีที่สุด ครับ .. 🙂

Facebook Comments Box

DevOps 101 Amazon EKS Upgrade node group (instance type)

Amazon EKS

วันนี้มีเรื่องเร่งด่วน เกี่ยวกับ การ scale out Amazon EKS ก็เลยมาเขียนไว้ กันลืม .. และเป็นการแบ่งปันความรู้ เผื่อเพื่อนๆ ท่านอื่น เจอปัญหาแบบผม และต้องการแก้ไข ให้เร็วที่สุด ..

Elastic Kubernetes Service (Amazon EKS) เป็นอีก service นึงบน AWS ที่เป็นที่นิยมใช้งานกัน ทำให้เราไม่ต้องยุ่งยาก ในการสร้าง kubernetes (k8s) cluster เอง .. โดยเราสามารถ create k8s cluster ของเราขึ้นมาใช้ได้ง่ายๆ ดังนี้ ..

0. Create EKS Cluster

eksctl create cluster \
--name tono-eks \
--version 1.19 \
--region ap-southeast-1 \
--nodegroup-name t3-medium \
--node-type t3.medium \
--nodes 3 \
--nodes-min 1 \
--nodes-max 4 \
--ssh-access=true \
--ssh-public-key tono-eks \
--managed --profile tono-admin

0.1 Update kubernetes config

จากนั้น ให้เราทำการ update kubernetes config (~/.kube/config) ด้วยคำสั่ง ..

aws eks --region ap-southeast-1 update-kubeconfig --name tono-eks --profile tono-admin

เพียงเท่านี้ เราก็จะมี k8s cluster ของเราไว้ใช้งานแล้วครับ .. ซึ่งถ้าเรา install เองแบบ k8s hard way จะยุ่งยากมากกกกกก (ก.ไก่ ล้านตัว) +___+

*** เพิ่มเติม –profile tono-admin คือให้ ไปใช้ profile ที่ชื่อ tono-admin ที่เรา config ไว้ใน ~/.aws/credentials

 

แต่เรื่องมันไม่จบเพียงเท่านี้ครับ .. เมื่อเราใช้ไปสักพักนึง EKS Cluster ที่เราสร้างขึ้นมาใช้งาน อาจจะไม่เพียงพอที่จะรองรับ load สูงๆ ได้ .. ที่หน้า console ของ AWS EKS เอง จะมีแค่ให้เลือก เพิ่มจำนวน worker node เท่านั้น ไม่สามารถ แก้ไข instance type เพื่อเพิ่ม spec ได้โดยตรง .. (ทำได้ แต่ต้องไปแก้ Auto Scaling groups ซึ่งยุ่งยาก พอสมควร) แต่เรามีวิธีการใช้ CLI eksctl ในการปรับแต่ง EKS Cluster ของเรา ง่ายๆ ดังนี้ครับ ..

ตัวอย่าง ผมจะเปลี่ยนจากเดิม ที่ใช้ instance type จาก t3.medium เป็น t3.xlarge และ version 1.19 –> 1.20 นะครับ .. ก็จะมี step ดังต่อไปนี้ ..

1. Check EKS node group

eksctl get nodegroups --cluster=tono-eks --profile tono-admin

CLUSTER NODEGROUP STATUS CREATED MIN SIZE MAX SIZE DESIRED CAPACITY INSTANCE TYPE IMAGE ID ASG NAME
tono-eks t3-medium ACTIVE 2021-04-01T04:26:02Z 1 4 3 t3.medium AL2_x86_64 eks-cabc45d7-245e-c62e-ca22-bba57282fd0a

จะเห็นว่า ตอนนี้ spec ของ EKS Cluster เรา มีรายละเอียดดังด้านบน

2. Create new node group

eksctl create nodegroup \
--cluster tono-eks \
--version 1.20 \
--name t3-xlarge \
--node-type t3.xlarge \
--nodes 3 \
--nodes-min 1 \
--nodes-max 4 \
--node-ami auto --profile tono-admin

รอจนเสร็จ จะขึ้น all nodegroups have up-to-date configuration

3. Delete old node group

eksctl delete nodegroup --cluster tono-eks --name t3-medium --profile tono-admin

รอจนเสร็จ จะขึ้น deleted 1 nodegroup(s) from cluster “tono-eks”

eksctl_delete_nodegroup

จากนั้นเราก็จะได้ EKS Cluster เป็น worker node ชุดใหม่ ครับ ดังรูป ..

lens_k8s_monitoring_tools

หรือถ้าไม่มี Lens (k8s monitoring tools) ไว้ดู status ของ EKS Cluster แบบผม ก็สามารถใช้ CLI kubectl ได้ครับ ดังนี้

4. Show EKS nodes

kubectl get node

NAME STATUS ROLES AGE VERSION
ip-192-168-31-151.ap-southeast-1.compute.internal Ready 13m v1.20.4-eks-6b7464
ip-192-168-54-97.ap-southeast-1.compute.internal Ready 13m v1.20.4-eks-6b7464
ip-192-168-74-140.ap-southeast-1.compute.internal Ready 13m v1.20.4-eks-6b7464

ปล. สำหรับท่านที่ใช้ k8s แล้วต้องการความสะดวก ในการ monitoring แนะนำ Lens ครับ สะดวกมากกว่าใช้ CLI (kubectl)
Lens: https://k8slens.dev/

เรียบร้อยละครับ เพียงเท่านี้ เราก็สามารถ เพิ่ม spec หรือ scale out EKS Cluster ของเรา ให้รองรับ load สูงๆ ได้แบบง่ายๆ และรวดเร็ว ทันใช้งาน ครับ 🙂

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://docs.aws.amazon.com/eks/latest/userguide/migrate-stack.html

Facebook Comments Box

DevOps 101 Nexus Repository

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึง tools อีกตัวนึง ที่สำคัญมาก ในการทำ CI/CD นะครับ
นั่นก็คือ Repository ที่เอาไว้เก็บของต่างๆ ของเรา ไม่ว่าจะเป็น docker images, libs, หรือ files binary ต่างๆ ที่นิยมกัน ก็จะมี JFrog Artifactory กับ Nexus วันนี้ ผมจะมาพูดถึงเจ้า Nexus กันนะครับ ..

รายละเอียด เพิ่มเติม https://www.sonatype.com/products/repository-pro

ความสามารถของเจ้า Nexus นั้นมีมากมายมากครับ และมี version ที่เป็น OSS อีกด้วย

ส่วนตัวที่ผมใช้ ก็จะใช้เป็น docker repository กับ docker proxy เพื่อใช้งาน ในองค์กร ทั้งแบบ On-Prem และแบบ Public ครับ หลายๆ ท่านอาจจะคุ้นกับ docker hub จะคล้ายๆ กันเลยครับ ..

อธิบายเพิ่มเติมนะครับ

Docker Repository = ที่เก็บ docker images ของเราครับ มองว่าเป็น docker hub ส่วนตัว ประมาณนั้นครับ ..
Docker Proxy = มองว่าเป็น proxy ที่ไปดึง docker images จากที่อื่นอีกที เช่นไปดึงจาก docker hub อะไรพวกนี้ .. ที่ต้องมี docker proxy นอกเหนือจากช่วย caching docker images แล้ว บางที่ network ภายใน ไม่สามารถ access public โดยตรงได้ ก็เลยต้องใช้เป็น docker repository (docker proxy) ภายในแทนครับ ..

มาดูวิธีการติดตั้งกันครับ ในที่นี่ จะติดตั้งแบบใช้ docker นะครับ (อันนี้ตามสะดวกเลยครับ)

1. Create directory nexus-data

mkdir ~/nexus-data

2. Docker Run

docker run -d -p 8081:8081 -p 5000:5000 -p 5001:5001 --name nexus -v ~/nexus-data:/nexus-data sonatype/nexus3

ที่เรา expose ออกมา 3 port ก็เพื่อเอาไว้ จัดการเรื่องต่างๆ ดังนี้ครับ
– Port 8081 สำหรับหน้า Nexus Dashboard
– Port 5000 สำหรับ docker pull
– Port 5001 สำหรับ docket push

3. จากนั้นเข้า หน้า Nexus Dashboard ด้วย IP:PORT

http://localhost:8081/

4. จะขึ้นหน้า ให้เรา Login จาก password ที่ได้จาก file admin.password

cat ~/nexus-data/admin.password
89e5664b-f748-49e4-a7dc-cdcc3febdd6b

5. เมื่อทำการ update new password เรียบร้อยแล้ว จะเข้ามาที่หน้าแรกของ nexus ให้คลิกที่ รูปเฟือง แล้วเลือก Repositories > Create repositories

Create repositories

6. จะเห็นว่า มีให้เราเลือกเยอะแยะมากมาย ว่าจะ create repositories ประเภทไหนกันบ้าง ..

Select Recipe

ในที่นี้ ผมจะเลือกเป็น docker (hosted) เพื่อเอาไว้เก็บ private docker images ที่เอาไว้ใช้กันเองภายในองค์กร หน่วยงาน แทน public docker repository พวก docker hub ..

7. เลือก Create repository: docker (hosted) ใส่ค่าต่างๆ ประมาณนี้

Name: docker-private
HTTP: 5001 (Port 5001 จะเอาไว้ใช้ docker push)

Create repository: docker (hosted)

8. ต่อมาเลือก Create repository: docker (proxy) ใส่ค่าต่างๆ ประมาณนี้

Name: docker-hub
Remote storage: https://registry-1.docker.io
Docker Index: Use Docker Hub

Create repository: docker (proxy)

9. จากนั้นเลือก Create repository: docker (group) เพื่อรวม docker (hosted) และ docker (proxy) เข้าด้วยกัน ใส่ค่าต่างๆ ประมาณนี้

Name: docker-group
HTTP: 5000 (Port 5000 จะเอาไว้ใช้ docker pull)

Create repository: docker (group)

ตรงด้านล่าง ในส่วนของ Group

Member repositories: ให้คลิกเลือก docker-private และ docker-hub มาอยู่ในส่วนของ Members

Member repositories

*** เพิ่มเติม ***

สำหรับ docker repository ที่ URL ไม่มี SSL (https) เราต้องทำการ set เพิ่มเติม ในส่วนของ Docker Desktop ให้รองรับ insecure-registries โดยไปที่ Preferences > Docker Engine จากนั้น เพิ่มส่วนนี้ลงไป ..

"insecure-registries": ["IP:5000", "IP:5001"],

โดย IP ก็คือ IP ของ Server เรา หรือถ้าเป็น domain ก็ใส่ ชื่อ domain ลงไป

insecure-registries

ในกรณีที่เรา ต้องการ ให้ docker pull ได้แบบ anonymous ไม่ต้องมีการ login
ให้มาติ๊กที่ Allow anonymous docker pull: ในส่วนของ docker-group ครับ

Allow anonymous docker pull:

จากนั้น ให้ไปที่ Realms เลือก Docker Bearer Token Realm เป็น Active

Docker Bearer Token Realm

จากนั้นไปที่ Anonymous Access ติ๊ก Allow anonymous users to access the server ในส่วนของ Realm: เลือก Docker Bearer Token Realm

Anonymous Access

มาถึงวิธีการทดสอบครับ

ให้เราลอง ทดสอบง่ายๆ ประมาณนี้

# Docker Login
docker login http://IP:5000
docker login http://IP:5001
# Docker Pull
docker pull IP:5000/nginx
# Docker Build
docker build -t IP:5000/demo-app .
# Docker Tag
docker tag IP:5000/demo-app IP:5001/demo-app
# Docker Push
docker push IP:5001/demo-app 
# Docker Run
docker run -p 5000:5000 IP:5000/demo-app 

เพียงเท่านี้ เราก็จะได้ docker repository ของเราเองมาใช้แล้วครับ 🙂

แล้วพบกับ การแนะนำ tools ต่างๆ ที่จำเป็น และมีประโยชน์ สำหรับ DevOps (CI/CD) ในตอนต่อไปเร็วๆ นี้ครับ ..

Facebook Comments Box

trick ในการใช้งาน IoT SIM แบบไหนประหยัดสุด?

true แบบเติมเงิน

วันนี้ ผมจะมาเล่า trick เล็กๆ น้อยๆ ในการเลือกใช้งาน IoT SIM สำหรับ อุปกรณ์​ IoT ของเรากันนะครับ .. ว่าทำอย่างไร จะคุ้มค่าและประหยัดสุด ..และพูดถึงเหตุผลที่ทำไม ผมยังไม่เลือกใช้บอร์ด NB-IoT ของค่ายมือถือต่างๆ ..

ปัจจุบัน ค่ายมือถือ ไม่ว่าจะเป็น ais, dtac, true ต่างก็ออกบอร์ด NB-IoT ของตัวเองกันออกมา พร้อมกับแถม package data สำหรับ IoT ให้ด้วย .. แต่ราคาผมมองว่ายังสูงไปครับ คือประมาณ 2-3000 บาท/บอร์ด ..

ส่วนราคา โดยประมาณ สำหรับ package ที่แต่ละค่ายตั้งไว้ ก็ประมาณนี้ครับ
ais 350 บาท/ปี
dtac 420 บาท/ปี
true 330 บาท/ปี

ให้ data ประมาณ 10MB/ปี (น้อยมาก) แต่อุปกรณ์ IoT เรา ก็ใช้ส่ง data ขนาดเล็กเข้าไปเก็บใน server อีกทีนึงครับ ส่วนใหญ่จะเอาไว้ทำ Sensors Node กัน .. ไม่ได้ต้องการ data มากมายอะไร ..

สรุป ข้อดี/ข้อเสีย ของ บอร์ด NB-IoT ของค่ายมือถือ

ข้อดี
– สะดวก ใช้งานได้ทันที
– มีการรับประกัน ถ้าบอร์ดมีปัญหา

ข้อเสีย
– แพง ถ้าเรานำไปใช้งานหลายๆ จุด ก็จะใช้งบประมาณจำนวนมาก
– ไม่สามารถนำ SIM ไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นได้ เพราะส่วนใหญ่เป็น e-SIM
– ไม่สามารถย้ายค่ายได้ เพราะบอร์ด ผูกติดกับค่าย

ด้วยเหตุผลด้านบน เมื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ของบอร์ด NB-IoT จากค่าย ผมเลยยังไม่เลือกใช้งาน เพราะว่างานที่ผมทำ ต้องใช้หลายจุด ต้องใช้งบประมาณอย่างประหยัด .. และที่สำคัญ Wi-Fi เข้าไม่ถึง ก็เลยไม่สามารถใช้บอร์ด ที่รองรับระบบ Wi-Fi ได้ +___+

แล้วแบบนี้ ซื้อพวก SIM เทพใช้ จะคุ้มไหม?

– ไม่คุ้มแน่นอนครับ ด้วยเหตุผลด้านบน คือ เราใช้ data จริงๆ น้อยมาก พวก SIM เทพ เหมาะกับคนที่ใช้ data จำนวนมากๆ ดูหนัง ฟังเพลง หรือ ทำเป็น AP ในพื้นที่ห่างไกลอินเตอร์เน็ตเข้าถึง .. บ้านผมเอง ก็ใช้ครับ ..

แล้วทำยังไง ถึงจะใช้อุปกรณ์ IoT ได้อย่างประหยัดดีล่ะ?

TTGO T-Call v1.4

– ใช้บอร์ดที่ใส่ SIM ได้ ราคาประมาณ​ 300-500 บาท
– ใช้ SIM ทรู แบบเติมเงินครับ data 1MB ประมาณ 1 บาท เท่านั้น เติม 10 บาท อยู่ได้ 30 วัน
1 ปี เราก็จะใช้เงินเพียงประมาณ 120 บาท เท่านั้นครับ ประหยัดกว่าเยอะ ..

ใครมี trick เพิ่มเติมอะไร ก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะครับ หรืออยากสอบถามอะไรเพิ่มเติม ก็ comment เข้ามาได้ครับ 🙂

Facebook Comments Box

ESP Weather Station

ESP Weather Station


คลิปสอนทำ Weather Station แบบง่ายๆ ราคาไม่ถึง 300 บาท

สวัสดีปีใหม่ 2021 ครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกท่าน ขอให้ปีนี้เป็นปีที่ดีนะครับ 🙂
ปีที่ผ่านมา ผมเองก็ไม่ได้มา update blog ส่วนตัวเลยครับ +___+

วันนี้มีโอกาสดี ได้หยุดยาว กลับมาอยู่บ้านที่จันทบุรี ก็เลยถือโอกาส เขียนเล่าวิธีการ
ทำ Weather Station แบบง่ายๆ และราคาถูกมาก ไม่เกิน 300 บาท ที่ใครๆ ก็ทำเองได้ ..

ตัวอย่าง ที่ผมทำเล่น ไว้ที่สวนที่จันทบุรี จะประมาณนี้ครับ
https://tonofarm.herokuapp.com/

Weather Station Dashboard

ในส่วนของ Dashboard ที่ใช้แสดงผล จะใช้ของฟรี บน Cloud ของ Heroku นะครับ (ฟรีแต่ต้องเอามาประกอบร่างกันเอง + Coding นิดหน่อย)
ถ้าใครยังไม่เคยใช้งาน Heroku ลองเข้าไปอ่านบนความที่ผมเคยเขียนไว้ ได้ครับ ..
https://ton.packetlove.com/blog/iot/line-bot-node-js-mqtt-esp32-iot-2.html

Stack ในส่วนของ Dashboard ที่ผมเลือกใช้ จะเป็น PHP+MySQL ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย และรวดเร็ว และส่วนของ graph Time series จะเป็น Highcharts ที่ใช้งานได้ง่ายมาก ..

ส่วนของ Hardware จะใช้เป็น ESP8266 (NodeMCU v3) + BME280 Sensor (Temperature, Humidity, Pressure) แค่นี้ ก็ใช้งานได้ละครับ ..
แต่ถ้าใครอยากได้ Options เสริม ทำให้ สามารถนำ Weather Station ของเราไปตั้งที่ไหนก็ได้ ก็ต้องเพิ่ม ในส่วนของ Battery ซึ่งในที่นี้ ผมเลือกใช้เป็น 18650 1 ก้อนครับ + Solar Panel + TP4056 1A Micro USB Battery Charger แค่นี้ก็เหลือๆ อยู่ได้สบายๆ เป็นปีๆ ครับ เพราะว่า ใช้เทคนิค ที่เรียกว่า Deep Sleep Mode ทำให้ Weather Station ของเรา ประหยัดพลังงานได้มาก ..

สรุป Stack ที่เราจะใช้ และ อุปกรณ์ ที่เราจะต้องใช้กันมีประมาณนี้ครับ สามารถดัดแปลงแก้ไข ได้ตามความเหมาะสม ..

มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ .. 🙂

0.ความรู้ที่ต้องมี ในบทความนี้

– การใช้งาน Arduino IDE เบื้องต้น
– การเขียน HTML, PHP เบื้องต้น
– การใช้งาน DB MySQL (MariaDB) เบื้องต้น
– การใช้งาน Git เบื้องต้น
– ตัวอย่าง code https://github.com/pornpasok/esp-weather-station

1.เตรียมอุปกรณ์

Hardware
– ESP8266 หรือ ESP32 ก็ได้ครับ ในที่นี้ผมใช้ NodeMCU v3 ราคา 54 บาท
– BME280 (Temperature, Humidity, Pressure) ราคา 80 บาท

Options
– Battery 18650 1 ก้อน ราคา 50 บาท
– Solar Panel 6V ราคา 30 บาท
– TP4056 1A Micro USB Battery Charger ราคา 8 บาท
– กล่องกันน้ำ IP66 ราคา 90 บาท

2.สมัครใช้บริการ Heroku สำหรับใช้งาน PHP+MySQL

– ทำตามที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความก่อน ได้เลยครับ
https://ton.packetlove.com/blog/iot/line-bot-node-js-mqtt-esp32-iot-2.html
– เลือก Add-ons JawsDB Maria (ฟรีนะครับ)

JawsDB Maria

3.จากนั้นเราจะได้ หน้าตา Dashboard สำหรับ DB ของเรา ซึ่งจะมีค่าต่างๆ ที่จำเป็นดังนี้

Host: xxxx.cbetxkdyhwsb.us-east-1.rds.amazonaws.com
Username: xxxjmq9y0lbpccfl
Password: xxxqfwd3ch9ynzom
Port: 3306
Database: xxxt7s4yvc54h02i

DB Information

4.ทำการ Clone Soure Code ที่ผมทำไว้ให้เป็นตัวอย่างลงมา

– git clone https://github.com/pornpasok/esp-weather-station
– จะมี files ต่างๆ ประมาณนี้

tree
.
├── NodeMCUv3_BME280_deepsleep.ino (สำหรับ Upload ลง ESP8266 ของเรา)
├── README.md
├── SensorData.sql (สำหรับ import DB Structure ลง DB ที่ Heroku)
├── esp-database.php (สำหรับ config การ connect DB ที่ Heroku ค่านี้ได้จากข้อ 3.)
├── esp-post-data.php (สำหรับ รับค่าจาก อุปกรณ์ IoT ของเรา ในที่นี้คือ ESP8266)
├── esp-style.css (สำหรับ ตกแต่งหน้าตา Dashboard)
├── images
│   ├── dashboard01.png
│   ├── dashboard02.png
│   ├── dashboard03.png
│   └── esp-weather-station.jpg
└── index.php (หน้าแสดงผล ของ Dashboard)

5.Import DB Structure ลง DB ที่เราได้จาก Heroku

– ในที่นี้ ใช้ได้หลายวิธี แล้วแต่ถนัด แต่ส่วนตัวผมใช้ extensions “MySQL Client for vscode
– จากนั้น ให้นำค่า Host, Username, Password, Port ที่ได้จาก ข้อ 3. มา config เพื่อใช้งาน
– จากนั้นคลิกขวา ที่ DB เลือก Import Sql แล้วเลือก file “SensorData.sql” ที่เราทำการ clone มาจาก ข้อ 4. แค่นี้ เราก็จะได้ โครงสร้างของ tables ใน DB ของเราแล้ว ..

vscode Import Sql

6.แก้ไข config file “esp-database.php” และ “esp-post-data.php”

– นำค่า Host, Username, Password, Database ที่ได้จาก ข้อ 3. มาแก้ไข ใน file “esp-database.php

$servername = "HOSTNAME";
$dbname = "DBNAME";
$username = "USERNAME";
$password = "PASSWORD";

– แก้ไข file “esp-post-data.php” ใสส่วนของ

$api_key_value = "********";

ค่า api_key_value เรากำหนดเองได้เลย และจะต้องเอาไปใช้ ในส่วนของ อุปกรณ์ IoT (ESP8266) ของเรา

7.ทำการ push App (Dashboard) ของเรา ขึ้น Heroku

– ทำตามนี้ได้เลยครับ https://devcenter.heroku.com/articles/getting-started-with-php

เท่านี้ เราก็จะได้ App (Dashboad) ในฝั่งของ Heroku Cloud กันแล้วครับ .. 🙂
มาต่อกันที่ฝั่งของ อุปกรณ์ IoT (ESP8266) ของเรากันดีกว่าครับ ..

8.การต่อวงจร BME280 wiring to ESP8266/ESP32

The ESP8266 I2C pins are:
– GPIO 5 (D1): SCL (SCK)
– GPIO 4 (D2): SDA (SDI)

BME280 wiring to ESP8266

The ESP32 I2C pins are:
– GPIO 22: SCL (SCK)
– GPIO 21: SDA (SDI)

BME280 wiring to ESP32

9.ใช้ Arduino IDE แก้ไข code ในส่วนของ อุปกรณ์ IoT (ESP8266)

– แก้ไข file “NodeMCUv3_BME280_deepsleep.ino” ตามระบบ WIFI และ URL App เรา

const char* ssid = "WIFI-SSID";
const char* password = "WIFI-PASSWORD";
const char* serverName = "http://app-name.herokuapp.com/esp-post-data.php";
String apiKeyValue = "********";
String sensorName = "BME280";
String sensorLocation = "37.8718992,-122.2585399";

– จากนั้นทำการ Upload code แล้วเปิด Serial Monitor ดู ว่ามี Error อะไรไหม? ถ้าทุกอย่างปกติ ก็จะได้ข้อความดังภาพด้านล่าง ก็ถือว่าเป็นอันใช้ได้ 🙂

Arduino Serial Monitor

10.ทดลอง เข้า หน้าเว็บ Dashboard ของเรา ที่ทำไว้

– เข้าด้วย URL: https://app-name.herokuapp.com/
ตัวอย่างของผมคือ https://tonofarm.herokuapp.com/

ส่วน Options เพิ่มเติม ที่จะนำไปต่อยอด ก็ประมาณนี้ครับ

– ใช้ Battery 18650
– ใช้ Solar Panel + ชุด Charge Battery
– ใส่กล่อง IP66 กันน้ำ เผื่อเอาไปใช้ Outdoor
– เพิ่ม-ลด Sensors ตามความต้องการ
– ปรับแต่ง Dashboard ให้เหมาะสมตามความต้องการ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ไม่ยากใช่ไหมครับ เอาไว้ทำเล่นๆ เราก็จะได้ Weather Station ของเราเองเอาไว้ใช้งาน และสามารถเข้าจากที่ไหน ก็ได้ เพราะอยู่บน Heroku Cloud ที่สำคัญ ฟรีด้วยครับ 🙂

สำหรับเพื่อนๆ ท่านใด ที่ติดปัญหา ตรงไหน สามารถสอบถามกันเข้ามาได้นะครับ
LINE ID: pornpasok

LINE ID: pornpasok

Add Friend

Source Code: https://github.com/pornpasok/esp-weather-station

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://randomnerdtutorials.com/cloud-weather-station-esp32-esp8266/

Facebook Comments Box

สวัสดี ปีใหม่ 2020 ครับ

Happy New Year 2020

สวัสดีปีใหม่ 2020 ครับ เป็นประจำทุกปี ที่จะต้องมา update เรื่องราวระหว่างปี ที่ผ่านไป เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

สำหรับปี 2019 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นปี ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ต้องย้ายถิ่นฐานที่อยู่ ไปหลายแห่ง ตามงานที่ทำ ทั้งย่าน บางนา, Big C รามคำแหง, เมืองทองธานี, อารีย์ งานที่ทำหลักๆ ก็ยังเป็นทางด้าน DevOps CICD, AI, และงานที่ปรึกษา ในด้านการวางระบบ ว่าทำอย่างไร จะทำให้ระบบ รับ load สูงๆ ได้ โดยการนำเอา Open Source มาใช้งาน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดค่าใช้จ่าย ในการซื้อ Software และ License ให้ได้มากที่สุด ..

สำหรับปี 2020 นี้ งานที่ทำ จะเป็นงานที่ท้าทายมาก ต้องเปลี่ยนตัวเองเยอะมากเหมือนกัน จาก stack ที่ไม่คุ้นเลย ทางฝั่ง Microsoft มาเป็น Open Source บน Container Platform แต่ถ้าทำได้สำเร็จ ก็จะเป็นสิ่งที่ดี สร้าง value ให้องค์กร ได้เยอะมาก เลยทีเดียว ..

ในด้านชีวิตส่วนตัว ตอนนี้ ก็เข้าใกล้อายุเลข 4 เข้าไปมากแล้ว สิ่งที่คาดหวัง และคนอื่นคาดหวัง ก็คงไม่พ้นเรื่องการแต่งงาน มีครอบครัว ซึ่งก็ต้องให้ความสำคัญตรงนี้ เป็น priority หลัก เหมือนกัน จะมัวแต่ชิลๆ เรื่อยๆ ไม่ได้แล้ว 🙂

ในด้านการเดินทาง ปีที่ผ่านมา ถือว่าเดินทางน้อยกว่าปีอื่นๆ มาก เพราะว่า ทำงานประจำ หาเวลา เดินทางทีละหลายวันยาก แต่ปีนี้ ถ้าอะไรเข้าที่เข้าทาง ก็น่าจะพอมีเวลามากขึ้น ยังมี checklist ที่ที่อยากไป อีกเยอะมาก ในโลกนี้ ถ้าไม่ไปช่วงนี้ ไม่รู้จะไปช่วงไหน ..

Facebook Comments Box

ทดสอบการใช้งาน OpenShift 4.2 (OCP4)

OCP4 (OpenShift 4.2)

สวัสดีครับ หลังจากที่ทดลองใช้งาน OpenShift 4.2 มาเดือนกว่าๆ ตั้งแต่เริ่มต้น Prepair Architecture
และร่วมกับ Vendor จากทาง Red Hat (MFEC) ทำการ Install ตลอดจนการแก้ไข จนเริ่มต้นใช้งานได้
เลยจะมาเขียนสรุปไว้เป็นความคิดเห็นสำหรับผู้ที่สนใจ จะใช้งานตัว OpenShift Container Platform (OCP4)

สำหรับตัว OpenShift 4.2 มีอะไรใหม่ๆ ออกมาเพิ่มเติมจาก 3.xx เยอะมาก อ่านรายละเอียดได้ที่
https://blog.openshift.com/introducing-red-hat-openshift-4-2-developers-get-an-expanded-and-improved-toolbox/

ในความคิดเห็นส่วนตัว สำหรับผม ที่ได้ลองเล่น ลองผิดลองถูกมาบ้าง ขอแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้

ข้อดี
– เป็น Enterprise Container Platform สำหรับ On-Premise ที่มี Support จาก Red Hat
– ใช้งานง่าย มี Template สำหรับหลายๆ Language ยอดนิยม, Database ที่เป็น Open Source และ CI/CD Tools
– มี Web Console ที่มี UI ใช้งานได้ง่าย แบ่งเป็น 2 Level คือ Developer/Admin
– มี CLI “oc” ที่ใกล้เคียงกับ “kubectl” ทำให้ใช้งานได้สะดวกสำหรับ คนที่ใช้ k8s มาก่อน
– สามารถ build microservices ได้จากหลากหลายวิธี จาก git และ template ที่มีมาให้
– สามารถมันจัดการ route ระดับ ingress ได้ดีมาก เราสามาถสำหนด endpoint ที่ต้องการได้ (HAProxy)
– มี Topology ที่ทำให้เห็น รายละเอียด และความสัมพันธ์ ระดับ service ได้ชัดเจน และจัดการตรงนี้ได้เลย
– มี Service Mesh ที่ทำให้รู้รายละเอียด ระดับ traffic ของแต่ละ service (Istio, Kiali and Jaeger)
– มี Images registry build-in มาด้วยในตัว
– มี Cloud-native CI/CD with Pipelines (Tekton) หรือจะใช้ Jenkins ด้วยก็ได้
– มี Dashboard และ Monitoring ที่ละเอียดจาก Grafana + Prometheus
– การใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน Container
– Documents ตัว OpenShift จาก Red Hat เอง ค่อนข้างละเอียด และดีมาก

ข้อเสีย
– ราคาสำหรับตัว Enterprise ค่อนข้างสูง
– การ Install ระบบค่อนข้างวุ่นวาย ต้องใช้ การ config DNS และ LB ในการ Install
– เนื่องจากเป็น CoreOS ทำให้ มี tools ต่างๆ ในการวิเคราะห์ปัญหา ติดมาด้วยน้อยมาก
– สำหรับคนที่เคยใช้ Docker หรือ Kubernetes (k8s) มาก่อน ก็ใช่ว่าจะใช้งานง่าย +___+
– ด้วยความที่เน้น เรื่อง security ทำให้ หลายๆ Docker Images ไม่สามารถใช้งานบน OCP4 ได้

สำหรับใครที่อยากทดสอบการใช้งาน ก็เข้าไป Download ตัว Red Hat CodeReady Containers (CRC)
มาทดลองเล่นดูก่อนก็ได้ครับ (เครื่องต้องสเปคสูงหน่อย)
https://developers.redhat.com/products/codeready-containers

ผมเองก็ยังมือใหม่สำหรับ OpenShift 4.2 แต่แนวโน้ม บริษัทขนาดใหญ่ จะไปทางนี้กันหมด
ศึกษาไว้ ก็ไม่เสียหาย ใครที่ทดลองใช้งาน แล้วติดปัญหายังไง หรือมีอะไรจะแนะนำ
ก็เข้ามาพูดคุยกันได้นะครับ LINE ID: pornpasok 🙂

Facebook Comments Box

DevOps CI/CD คืออะไร?

CICD Flow

เนื่องในโอกาส ที่มาเริ่มงานใหม่ ด้าน Banking Technology (FinTech) ได้ครบ 1 เดือน ในส่วนของ DevOps เลยจะมาเขียนเล่าว่า การทำงานของ DevOps มีอะไรบ้าง CI/CD คืออะไร? ทำไมสมัยนี้ ถึงเป็นคำที่นิยมใช้กัน ในสายงาน software developer ..

DevOps จริงๆ แล้วเป็นคำใหม่ ที่เอาคำว่า Developer กับ Operator มารวมกัน สมัยก่อน Developer เป็นคนพัฒนา code แต่ไม่มีสิทธิ deploy code ขึ้นใช้งานเอง ต้องมีทีม Operator มาทำการ deploy ให้อีกทีม ซึ่งทั้ง 2 ทีมนี้เป็นคนละทีมกัน ทำให้การทำงานยุ่งยาก เกิดความผิดพลาด และใช้เวลานาน ในการ deploy แต่ละครั้ง ..

CICD

CI/CD (Continuous Integration, Continuous Delivery) เป็นกระบวนการในการทำงาน ตั้งแต่การ Plan -> Code -> Build -> Test -> Release -> Deploy -> Operate -> Monitor หรือบางทีเรียกสั้นๆ ว่า Pipeline ซึ่งสมัยนี้ ก็มี tools ต่างๆ ที่ทำหน้าที่พวกนี้ เยอะมากทั้ง On-Premise และ On-Cloud ที่เรารู้จักกันดี ก็น่าจะเป็น Jenkins ที่เข้ามามีบทบาทมาก ในการทำ CICD ..

ขอบเขตของการทำงาน ของ DevOps แต่ละที่เท่าที่ผมได้เคยลงไปสัมผัส จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่ว่า scope ที่ทำได้ มีระดับไหน บางที่ ก็คือทำตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ คือตั้งแต่วางแผน สร้าง Infrastructure เอง ทำ ENV ให้ Dev ใช้ เขียน Pipeline ตลอดจน ทำ Load Test, Performance Test, Security Test และระบบ Monitor & Alert เองทั้งหมด แบบนี้ก็ดีตรงที่จะรู้และเข้าใจ ในแต่ละส่วนอย่างดี ทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ ควบคุมได้ แต่ถ้ามี หลายๆ Project ก็คงทำแบบนี้ไม่ไหว ..

บางที่ DevOps จะมีหน้าที่แค่ทำระบบให้ Dev มาใช้งาน แต่จะไม่มีสิทธิ ในการทำอย่างอื่นเอง แบบด้านบน แบบนี้ ก็จะทำให้ ควบคุมอะไรไม่ได้ทั้งหมด แต่ถ้ามีหลายๆ Project ก็จะรองรับการทำงาน ได้เต็มที่ ..

สำหรับแนวคิด และ Tools ในการทำงานแบบ DevOps (CI/CD) ไม่มีแบบไหนผิด แบบไหนถูก ขึ้นอยู่กับการเอามาประยุกต์ใช้งาน ให้เหมาะสมกับงานของเรา องค์กรของเรา เพื่อทำให้งาน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน product ของเราให้ดีที่สุด .. และที่สำคัญ ต้อง Monitor ได้ ต้องมี Dashboard เอาไว้ Tracking Metric ต่างๆ ได้ ..

สำหรับใครที่กำลังหางาน DevOps สมัครกันเข้ามาได้ครับ รับรองว่า งานท้าทาย สนุก แน่นอนครับ 🙂
https://th.jobsdb.com/th/th/job/devops-engineer-300003001969662

Facebook Comments Box

วิธีเลือกซื้อมังคุด ตามฤดูกาล

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึง “มังคุด” ราชินีแห่งผลไม้ สักหน่อยครับ เนื่องจากช่วงนี้ เป็นฤดูกาล ที่มังคุด ของ จ.จันทบุรี และภาคตะวันออก กำลังออกกัน ..

ถิ่นกำเนิดของมังคุดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และขยายพันธุ์มาปลูกในภาคใต้ และภาคตะวันออกของประเทศไทย ..

มังคุดที่ปลูกอยู่ทั่วเมืองไทยเป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ต้นมังคุดเจริญเติบโตจากต้นแม่ ที่ไม่ได้รับการผสมเกสร เพราะเกสรของมังคุดตัวผู้จะเป็นหมัน ทำให้มังคุดในแต่ละท้องที่ก็คือสายพันธุ์เดียวกัน แต่ผลผลิตที่ได้อาจจะแตกต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อม ในแต่ละพื้นที่ ..

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมังคุด
ชื่อสามัญ Mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-25 เมตร มีใบเดี่ยวรูปไข่ เนื้อใบหนาและเหนียว สีเขียวเข้มเป็นมัน ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง และกลีบดอกสีแดง ผลมังคุดเป็นทรงกลม มีเปลือกหนาสีม่วงอมแดงห่อหุ้มเมล็ด 6-8 เมล็ดภายในที่มีสีขาวนวล เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว มังคุดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ มีสารในกลุ่ม Xanthones ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด โดยเฉพาะบริเวณเปลือกของมังคุด และสารที่มีฤทธิ์มากที่สุดคือ GM-1 สารกลุ่มแซนโทนส์นั้นมีคุณสมบัติ ฆ่าแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ฆ่าเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตามปัจจุบันสาร GM-1 ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นยา ควรศึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

สารอาหารในมังคุด จากรายงานของ USDA Food Composition Databases เนื้อมังคุด 100 กรัม มีส่วนประกอบโดยประมาณ ดังต่อไปนี้

• พลังงาน 73 กิโลแคลอรี่
• น้ำ 80.94 กรัม
• โปรตีน 0.41 กรัม
• คาร์โบไฮเดรตรวมทั้งหมด 17.91 กรัม
• ไฟเบอร์ 1.8 กรัม
• ไขมัน 0.58 กรัม

วิตามิน
• วิตามิน B1 (Thiamine) 0.054 มิลลิกรัม
• วิตามิน B2 (Riboflavin) 0.054 มิลลิกรัม
• วิตามิน B3 (Niacin) 0.286 มิลลิกรัม
• วิตามิน B5 (Pantothenic acid) 0.032 มิลลิกรัม
• วิตามิน B6 (Pyridoxine) 0.018 มิลลิกรัม
• วิตามิน B9 หรือโฟเลต 31 ไมโครกรัม
• เบต้า แคโรทีน 16 ไมโครกรัม
• อัลฟ่า แคโรทีน 1 ไมโครกรัม
• เบต้า คริปโตแซนทีน 9 ไมโครกรัม
• วิตามิน C (Ascorbic acid) 2.9 มิลลิกรัม
• วิตามิน A 35 IU

แร่ธาตุต่างๆ
• แคลเซี่ยม 12 มิลลิกรัม
• ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม
• แมกนีเซี่ยม 13 มิลลิกรัม
• ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม
• โพแทสเซี่ยม 48 มิลลิกรัม
• โซเดี่ยม 7 มิลลิกรัม
• ธาตุสังกะสี 0.21 มิลลิกรัม
• ธาตุทองแดง 0.069 มิลลิกรัม
• ธาตุแมงกานีส 0.102 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมังคุด
1. มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของร่างกายส่งผลให้ร่างกายของเรานั้นแก่ช้าลง ช่วยให้ลดการเกิดริ้วรอยและทำให้ผิวพรรณของเราดูเปล่งปลั่ง
2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายของเราแข็งแรง และป้องกันหรือบรรเทาอาการไข้ได้อีกด้วย
3. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
4. ช่วยเพิ่มความกระปรี้เปร่า ตื่นตัวของร่างกายได้เป็นอย่างดี และยังช่วยให้สภาวะทางอารมณ์ของเราดีขึ้นได้อีกด้วย
5. ช่วยยับยั้งแบคทีเรียในร่างกายของเราได้เป็นอย่างดี
6. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน เนื่องด้วยคุณสมบัติของมังคุดที่จะช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายของเรา
7. ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลและไขมันไม่ดีในเส้นเลือด
8. สาร Xanthones มีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต
8. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกายของเรา
9. ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายเนื่องจากมังคุดนั้นมีกากใยอยู่จำนวนมาก
10. เปลือกของมังคุดมีสรรพคุณในการสมานแผล และยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง


เรียงลำดับสี ของมังคุด ในระยะต่างๆ
1. เริ่มมีจุดสีเลือด ในบางจุด ของผล
2. มีจุดสีเลือดกระจายไปทั่วทั้งผล และผลเริ่มเป็นสีชมพู
3. ผลเป็นสีชมพูเข้ม ทั้งผล
4. สีเริ่มเป็นสีเปลือกมังคุด ระยะนี้ทานได้แล้ว
5. สีเริ่มเป็นสีดำ ระยะนี้ควรรีบทาน เพราะเป็นระยะสุดท้าย ของมังคุดแล้ว

วิธีเลือกมังคุด
มังคุดที่ดี จะมีลักษณะลูกกลมแป้น ผิวอาจจะมัน หรือเป็นกลาก ก็ไม่ใช้ปัญหา เพราะส่วนสำคัญคือเนื้อข้างใน ต้องเป็นสีขาว เป็นกลีบเรียงกัน อย่างเป็นระเบียบ บางคนอาจจะชอบผลเล็ก เพราะไม่มีเมล็ด บางคนอาจจะชอบผลใหญ่ เพราะมีเนื้อมังคุดที่มากกว่า อันนี้ แล้วแต่คนชอบ ส่วนราคา แน่นอนว่า ผลขนาดใหญ่ ผิวมัน จะมีราคาแพงกว่า ..

ในประเทศไทยเอง ตามห้างต่างๆ ที่เอามังคุดไปขาย ส่วนใหญ่จะเป็นเกรดตกไซส์ คือผลเล็กผิวดำ เพราะว่า เกรดส่งออก ผลใหญ่ ผิวมัน ส่วนใหญ่ ล้งต่างๆ จะมารับซื้อตรงจากชาวสวนในพื้นที่ไปหมดแล้ว เพื่อทำการส่งออกไปยังต่างประเทศ และจะให้ราคาค่อนข้างดี ..

มังคุด 100 ปี คืออะไร?
มังคุด 100 ปี คือมังคุดที่ต้นมีอายุมากๆ ระดับ 60 – 100 ปีขึ้นไป จะให้ผลที่มีรสชาต อร่อย หวาน กว่ามังคุดอายุน้อยๆ เป็นที่นิยมรับประทานกัน ต้นจะใหญ่ สูงมาก ..

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจ อยากสั่งซื้อมังคุด 100 ปี คุณภาพดี เกรดส่งออก ปลอดสารเคมี สดๆ จากสวนผมเอง สามารถสั่งซื้อผ่านทาง shopee ด้านล่างนี้ได้เลยครับ ..

แบบ มันลาย 9-10 ลูก/kg
https://shopee.co.th/ton350d/2062354563?v=784&smtt=0.0.1

แบบ มันจั้มโบ้ 7-9 ลูก/kg
https://shopee.co.th/ton350d/2062465862?v=2ca&smtt=0.0.1

ขอบคุณรายละเอียดจาก
https://maanow.com/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/426-%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94.html

https://medthai.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94/

Facebook Comments Box

LINE Bot + node.js + MQTT + ESP32 (IoT) เปิด/ปิด ไฟ (ตอนที่ 2)

สวัสดีครับ จากตอนที่แล้ว ที่ผมพูดถึงรายละเอียดต่างๆ ที่จะใช้ในการทำ ระบบเปิด/ปิด ไฟ
ว่าต้องใช้อะไรบ้าง วันนี้ จะมาลงรายละเอียด ในแต่ละส่วนกันครับ ..
อ่านตอนที่ 1 ได้ที่ LINE Bot + node.js + MQTT + ESP32 (IoT) เปิด/ปิด ไฟ (ตอนที่ 1)

การทำงานคือ ผมจะสามารถสั่ง ให้บอท (LINE Messaging API) สั่งเปิด/ปิดไฟ ได้ผ่าน การ chat ดังภาพ

0.ความรู้ที่ต้องมี ในบทความนี้

– การใช้งาน Arduino IDE เบื้องต้น
– การเขียน node.js เบื้องต้น
– การใช้งาน LINE Messaging API เบื้องต้น
– การใช้งาน Git เบื้องต้น

1.เตรียมอุปกรณ์


สำหรับบอร์ด ESP32 ที่ผมจะใช้ในการทดลองนี้ จะเป็น Node32 Lite นะครับ สามารถหาซื้อได้ที่นี่ครับ ราคา 275 บาท
https://www.gravitechthai.com/product-detail.php?WP=pQugZKpmGQAgG2rDqYyc4Uuw

ปล.หรือถ้าเพื่อนๆ มีบอร์ดอื่นๆ เช่น ESP8266, NodeMCU อยู่แล้ว ก็สามารถใช้งานได้เหมือนกันครับ

2.สมัครใช้บริการ LINE Messaging API


LINE Developers

ตรงส่วนวิธีการสมัครใช้งาน LINE Messaging API มีหลายๆ ท่านเขียนบทความไว้แล้ว ตัวอย่างเช่น

LINE Bot 101 — จับมือทำบอท ของคุณ Sitthi Thiammekha (LINE API Expert)

สร้าง LINE Bot ด้วย Node.js + Messaging API — A Beginner’s Guide ของคุณ Ingkwan

3.สมัครใช้บริการ Heroku สำหรับ CloudMQTT Server


Heroku.com

เมื่อกรอกรายละเอียดการสมัครเสร็จแล้ว เราจะเข้าสู่ Dashboard ของ Heroku ครับ


– ที่หน้า Dashboard เลือก New > Create new app


– ตั้งชื่อ App ของเรา ในที่นี้ผมตั้งชื่อ esp32-mqtt

ถ้าสร้างสำเร็จ เราจะเข้าหน้าแรก ของ App เราได้ละ อย่างของผมจะเป็น
https://esp32-mqtt.herokuapp.com/


– ที่ Resources เลือก Find more add-ons


– เลือก CloudMQTT


– เลือก Install CloudMQTT


– เลือก App ที่จะ Install CloudMQTT ในที่นี้ ของผมคือ esp32-mqtt


– เลือก Provision add-on


– เสร็จแล้วจะได้ดังนี้ ให้เราคลิกเพื่อดูรายละเอียดของ CloudMQTT ของเราได้ที่ menu ด้านล่าง


– ค่า config CloudMQTT ตรงนี้ เดี๋ยวเราจะใช้กับ webhook ที่เป็น node.js ของเรานะครับ

4.LINE Bot API Code (node.js)

File หลักๆ ที่เราจะใช้ ในการ Deploy ขึ้น Heroku App ของเรา มี 2 file ครับคือ
Procfile (ไม่ต้องมี .txt) นะ ใช้สำหรับบอกว่า ให้ App เราทำงานแบบไหน เรียก file ไหน
index.js เป็น file หลัก ของ LINE Bot API เราครับ

จากนั้น เรามาดูที่ code ที่เป็น LINE Bot API กันครับ
ส่วนที่เราจะต้องแก้ไข หลักๆ มีด้วยกัน 3 จุดครับคือ

CH_ACCESS_TOKEN คือค่า ยาวๆ ที่เราได้จาก Channel access token (long-lived) ของ Messaging API
mqtt_host คือค่าที่เราได้จาก CloudMQTT บน Heroku
options คือค่าต่างๆ ที่เราได้จาก CloudMQTT บน Heroku เช่นกันครับ

Code LINE Bot API ที่เป็น node.js สำหรับ Deploy ขึ้น Heroku ของเราครับ
ใครที่เขียน code คล่องๆ แก้ไข ให้ code สวยงาม กระชับกว่านี้ได้นะครับ อันนี้ผมเขียนแบบด่วนๆ มาก 🙁

Procfile

web: node index.js

 

index.js

var express = require('express')
var bodyParser = require('body-parser')
var request = require('request')
var app = express()

var mqtt = require('mqtt');

// Your Channel access token (long-lived) 
const CH_ACCESS_TOKEN = '';

// MQTT Host
var mqtt_host = 'mqtt://m15.cloudmqtt.com';

// MQTT Topic
var mqtt_topic = '/ESP32';

// MQTT Config
var options = {
    port: 15443,
    host: 'mqtt://m15.cloudmqtt.com',
    clientId: 'mqttjs_' + Math.random().toString(16).substr(2, 8),
    username: 'mqttuser',
    password: 'mqttpass',
    keepalive: 60,
    reconnectPeriod: 1000,
    protocolId: 'MQIsdp',
    protocolVersion: 3,
    clean: true,
    encoding: 'utf8'
};


app.use(bodyParser.json())

app.set('port', (process.env.PORT || 4000))
app.use(bodyParser.urlencoded({extended: true}))
app.use(bodyParser.json())

app.post('/webhook', (req, res) => {
  var text = req.body.events[0].message.text.toLowerCase()
  var sender = req.body.events[0].source.userId
  var replyToken = req.body.events[0].replyToken
  console.log(text, sender, replyToken)
  console.log(typeof sender, typeof text)
  // console.log(req.body.events[0])

  if (text === 'info' || text === 'รายงาน') {
    // Info
    inFo(sender, text)
  }
  else if (text === '1' || text === 'เปิด' || text === 'on') {
    // LED On
    ledOn(sender, text)
  }
  else if (text === '0' || text === 'ปิด' || text === 'off') {
    // LED Off
    ledOff(sender, text)
  }
  else {
    // Other
    sendText(sender, text);
  }

  res.sendStatus(200)
})

function sendText (sender, text) {
  let data = {
    to: sender,
    messages: [
      {
        type: 'text',
        text: 'กรุณาพิมพ์ : info | on | off | เปิด | ปิด เท่านั้น'
      }
    ]
  }
  request({
    headers: {
      'Content-Type': 'application/json',
      'Authorization': 'Bearer '+CH_ACCESS_TOKEN+''
    },
    url: 'https://api.line.me/v2/bot/message/push',
    method: 'POST',
    body: data,
    json: true
  }, function (err, res, body) {
    if (err) console.log('error')
    if (res) console.log('success')
    if (body) console.log(body)
  })
}

function inFo (sender, text) {
  let data = {
    to: sender,
    messages: [
      {
        type: 'text',
        text: 'uid: '+sender
      }
    ]
  }
  request({
    headers: {
      'Content-Type': 'application/json',
      'Authorization': 'Bearer '+CH_ACCESS_TOKEN+''
    },
    url: 'https://api.line.me/v2/bot/message/push',
    method: 'POST',
    body: data,
    json: true
  }, function (err, res, body) {
    if (err) console.log('error')
    if (res) console.log('success')
    if (body) console.log(body)
  })
}


function ledOn (sender, text) {
  var client = mqtt.connect(mqtt_host, options);
  client.on('connect', function() { // When connected
      console.log('MQTT connected');
      // subscribe to a topic
      client.subscribe(mqtt_topic, function() {
          // when a message arrives, do something with it
          client.on('message', function(topic, message, packet) {
              console.log("Received '" + message + "' on '" + topic + "'");
          });
      });
      

      // publish a message to a topic
      client.publish(mqtt_topic, 'on', function() {
          console.log("Message is published");
          client.end(); // Close the connection when published
      });
      
  });
    

  let data = {
    to: sender,
    messages: [
      {
        type: 'text',
        text: 'LED ON'
      }
    ]
  }
  request({
    headers: {
      'Content-Type': 'application/json',
      'Authorization': 'Bearer '+CH_ACCESS_TOKEN+''
    },
    url: 'https://api.line.me/v2/bot/message/push',
    method: 'POST',
    body: data,
    json: true
  }, function (err, res, body) {
    if (err) console.log('error')
    if (res) console.log('success')
    if (body) console.log(body)
  })
}

function ledOff (sender, text) {
  var client = mqtt.connect(mqtt_host, options);
  client.on('connect', function() { // When connected
      console.log('MQTT connected');
      // subscribe to a topic
      client.subscribe(mqtt_topic, function() {
          // when a message arrives, do something with it
          client.on('message', function(topic, message, packet) {
              console.log("Received '" + message + "' on '" + topic + "'");
          });
      });
      

      // publish a message to a topic
      client.publish(mqtt_topic, 'off', function() {
          console.log("Message is published");
          client.end(); // Close the connection when published
      });
      
  });

  let data = {
    to: sender,
    messages: [
      {
        type: 'text',
        text: 'LED OFF'
      }
    ]
  }
  request({
    headers: {
      'Content-Type': 'application/json',
      'Authorization': 'Bearer '+CH_ACCESS_TOKEN+''
    },
    url: 'https://api.line.me/v2/bot/message/push',
    method: 'POST',
    body: data,
    json: true
  }, function (err, res, body) {
    if (err) console.log('error')
    if (res) console.log('success')
    if (body) console.log(body)
  })
}

app.listen(app.get('port'), function () {
  console.log('run at port', app.get('port'))
})


– CH_ACCESS_TOKEN คือค่ายาวๆ ตรงนี้แหละครับ


– mqtt_host กับ options คือค่าที่ได้จาก CloudMQTT ตรงนี้ครับ

5.Deploy Webhook API code ขึ้น Heroku

จาก Step 3 ที่เราสร้าง App ของเราไว้ อย่างของผมจะชื่อ esp32-mqtt ให้เราเข้ามาที่ Deploy

– อันดับแรกเลย ถ้าเรายังไม่เคยใช้ Heroku ให้ Download และ Install Heroku CLI กันก่อนที่
Download and install the Heroku CLI


– หลังจากลง Heruku CLI เสร็จแล้ว ที่ Terminal พิมพ์ heroku login


– ตัว Browser จะเด้งหน้า Heroku Login ขึ้นมา ให้เราทำการ Login ให้เรียบร้อย


– เมื่อเรา Login สำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป ที่ Terminal (CLI)

ทำการสร้าง Git repository

cd my-project/
git init
heroku git:remote -a esp32-mqtt

ทดลอง Deploy

git add .
git commit -am "make it better"
git push heroku master

จากนั้น สร้าง file จาก Step 4 คือ Procfile กับ index.js ที่ Directory ที่สร้างขึ้น อย่างของผมจะเป็น esp32-mqtt

จากนั้น install module ที่จำเป็น ที่เราใช้ในการเขียน App ของเรา ดังนี้

npm init
npm install express --save
npm install request --save
npm install mqtt --save

เราจะได้ file ต่างๆ เพิ่มเข้ามา ใน directory ของเรา

ทดลอง run Wehhook API ที่เราเขียน ด้วย node.js ค่า default จะเป็น port 4000
node index.js

เข้าผ่าน localhost:4000 จะได้ดังรูป Error ไม่เป็นไรครับ ถือว่าทำงานได้แล้ว เพราะเราไม่รับ GET

ทำการ Deploy code จริง ขึ้น Heroku

git add .
git commit -am "add Procfile index.js"
git push heroku master

จากนั้นลองเข้า App ของเราผ่าน URL ที่เราทำการตั้งไว้ อย่างของผมจะเป็น
https://esp32-mqtt.herokuapp.com/

หน้าจะจะได้แบบนี้ ไม่ต้องตกใจครับ เพราะเราไม่รับ GET
แต่ถ้าไม่ได้ ให้เราลองใช้ CLI ดู logs ว่าผิดพลาดตรงไหน

heroku logs --tail

เสร็จแล้วครับ LINE Bot API (webhook) ของเรา บน Heroku .. 🙂

6.Config Webhook API ของเราเข้ากับ LINE Messaging API

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายในส่วนของ Webhook API ของเรากันแล้วครับ นั่นคือ การผูกกับ LINE Messaging API

– ขั้นตอนแรก เราต้องไป Use webhooks ให้ Enabled แล้ว Save ก่อนนะครับ ตกม้าตาย ตรงนี้กันมาเยอะแล้ว 🙁
– จากนั้น ใส่ URL ของ App เรา ที่ได้จาก Heroku แล้วตามด้วย /webhook ครับ อย่างของผมก็จะเป็น
https://esp32-mqtt.herokuapp.com/webhook
– จากนั้น กด Verify ดูครับ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ก็จะ Success ครับ 🙂


– ประมาณนี้ ก็เป็นอันว่า เรียบร้อยแล้วครับ LINE Messaging API กับ Webhook บน Heroku เราใช้งานได้แล้ว 🙂

7.เขียน code Arduino ให้กับ Node32 Lite

ดูวิธีการติตตั้งบอร์ดใหม่ๆ (Node32 Lite) เข้าไปใน Arduino IDE ได้ที่นี่ครับ
http://www.ayarafun.com/2018/12/how-to-setup-lamloei-32-lite-with-arduino/

เลือกชนิดของ Board ที่เราใช้ให้ถูกต้อง แล้วทำการ Verify และ Upload Code โลดครับ ..

– ในที่นี้ผมใช้บอร์ด Node32 Lite จะต้องเลือกเป็น Node32s รุ่นพี่มันครับ 🙂

ตัว Arduino IDE ให้เราทำการ add Library PubSubClient กับ WiFiManager เข้าไปด้วยครับ


– ไปที่ Tools > Manage Libraries…


Manage Libraries…


– Add Lib PubSubClient


– Add Lib WiFiManager

สำหรับ code จะมี 2 แบบ คือ

แบบ ที่ 1 fix SSID กับ password ไปใน code เลย แบบนี้จะดี ตรงที่เราไม่ต้องมา config ให้บอร์ดเราไปเกาะ WiFi อีกรอบ เหมาะสำหรับการทดลอง หรือใช้ SSID เดิมตลอด ..


– ถ้าเราดูจาก Serial Monitor จะเห็นรายละเอียดการ connect แบบ fix SSID ดังนี้

แบบ ที่ 2 ใช้ WiFiManager คือจะสามารถ config ให้ Node32 Lite ของเราไปเกาะ SSID (AP) ตัวที่เราต้องการได้ อันนี้จะสะดวก เวลาไปใช้งานจริง ไม่ต้อง Upload code เข้าไปใหม่


– วิธีการ config ด้วย WiFiManager หลังจาก Upload Code เสร็จ ให้เราไปเกาะ SSID ชื่อ ESP32_xxxxxx จะขึ้นหน้า menu config ดังรูป


– จากนั้นเลือก SSID(AP) ที่เราต้องการจะให้ไปเกาะ ใส่ password แล้วกด Save


– ถ้าเราดูจาก Serial Monitor จะเห็นรายละเอียดการ connect แบบใช้ WiFiManager ดังนี้

มาดูในส่วนของ Code กันครับ

Code แบบที่ 1 fix SSID กับ password ใน code

#include <PubSubClient.h>
#include <WiFi.h>

// Update these with values suitable for your network.
const char* ssid = "tonofarm.io"; // AP Name
const char* password = "********"; // AP Password

// Config MQTT Server
#define mqtt_server "m15.cloudmqtt.com"
#define mqtt_port 15443
#define mqtt_user "mqttuser"
#define mqtt_password "mqttpass"

WiFiClient espClient;
PubSubClient client(espClient);

void setup() {
  // Set LED_BUILTIN 
  pinMode(LED_BUILTIN, OUTPUT);

  Serial.begin(115200);
  delay(10);

  Serial.println();

  Serial.print("Connecting to ");
  Serial.println(ssid);

  WiFi.begin(ssid, password);

  while (WiFi.status() != WL_CONNECTED) {
    delay(500);
    Serial.print(".");
  }

  Serial.println("");
  Serial.println("WiFi connected");
  Serial.println("IP address: ");
  Serial.println(WiFi.localIP());

  client.setServer(mqtt_server, mqtt_port);
  client.setCallback(callback);
}

void loop() {
  if (!client.connected()) {
    Serial.print("Attempting MQTT connection...");
    if (client.connect("ESP32Client", mqtt_user, mqtt_password)) {
      Serial.println("connected");
    } else {
      Serial.print("failed, rc=");
      Serial.print(client.state());
      Serial.println(" try again in 5 seconds");
      delay(5000);
      return;
    }
  } else {
    // MQTT Topic /ESP32
    client.subscribe("/ESP32");
  }
  client.loop();
}

void callback(char* topic, byte* payload, unsigned int length) {
  Serial.print("Message arrived [");
  Serial.print(topic);
  Serial.print("] ");
  String msg = "";
  int i = 0;
  while (i < length) msg += (char)payload[i++];
  Serial.println(msg);
  digitalWrite(LED_BUILTIN, (msg == "on" ? LOW : HIGH));
}

Code แบบที่ 2 ใช้ WiFiManager ในการ config

#include                    //this needs to be first, or it all crashes and burns...
#include 
#include 
#include 
#include 

//flag for saving data
bool shouldSaveConfig = false;

//callback notifying us of the need to save config
void saveConfigCallback () {
  Serial.println("Should save config");
  shouldSaveConfig = true;
}

// Config MQTT Server
#define mqtt_server "m15.cloudmqtt.com"
#define mqtt_port 15443
#define mqtt_user "mqttuser"
#define mqtt_password "mqttpass"

WiFiClient espClient;
PubSubClient client(espClient);

void setup() {
  // Set LED_BUILTIN 
  pinMode(LED_BUILTIN, OUTPUT);

  Serial.begin(115200);
  delay(10);

  Serial.println();

  WiFiManager wifiManager;
  wifiManager.autoConnect();

  client.setServer(mqtt_server, mqtt_port);
  client.setCallback(callback);
}

void loop() {
  if (!client.connected()) {
    Serial.print("Attempting MQTT connection...");
    if (client.connect("ESP32Client", mqtt_user, mqtt_password)) {
      Serial.println("connected");
    } else {
      Serial.print("failed, rc=");
      Serial.print(client.state());
      Serial.println(" try again in 5 seconds");
      delay(5000);
      return;
    }
  } else {
    // MQTT Topic /ESP32
    client.subscribe("/ESP32");
  }
  client.loop();
}

void callback(char* topic, byte* payload, unsigned int length) {
  Serial.print("Message arrived [");
  Serial.print(topic);
  Serial.print("] ");
  String msg = "";
  int i = 0;
  while (i < length) msg += (char)payload[i++];
  Serial.println(msg);
  digitalWrite(LED_BUILTIN, (msg == "on" ? LOW : HIGH));
}

Source Code ใน GitHub ตามนี้เลยครับ https://github.com/pornpasok/esp32_line_bot_mqtt

8.เรียบร้อยแล้ว ทดสอบใช้งาน

ทำการ Add LINE Bot ของเรา ก่อนนะ จากนั้นทดลองดังนี้ได้เลย

- ถ้าเราพิมพ์ On/on/เปิด/1 ไฟ LED ที่ตัว Node32 Lite ของเราก็จะติดครับ
- ถ้าเราพิมพ์ Off/off/ปิด/0 ไฟ LED ที่ตัว Node32 Lite ของเราก็จะดับครับ
- ถ้าเราพิมพ์ info/รายงาน บอทของเรา ก็จะรายงาน UID ของเราครับ เพื่อเอาไปใช้งานต่อยอดอื่นๆ

ปล. เดี๋ยวพรุ่งนี้ ถ่าย Video มาให้ดูกันนะครับ ว่าการทำงานของมันเป็นยังไง ถ่ายเองกดเอง ไม่ไหว 🙁

Next Step ...

- ต่อกับ Relay เพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าจริงครับ (อันนี้อันตรายนะครับ ต้องระวังด้วยเพราะเล่นกับไฟ 220v)
- ต่อยอดให้ LINE Bot ของเรา มีความสามารถมากกว่านี้ครับ เช่น monitor หรือรายงาน ค่าต่างๆ ให้เราได้
- ทำ Box ให้ดี ให้สวยงาม กันน้ำ ติด Solar Cells เอาไปใช้งานจริงกันครับ ..

สำหรับท่านใด ที่มีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจตรงส่วนไหน สามารถ Post ถามได้ที่บทความนี้ครับ
หรือ Add LINE ID: pornpasok เข้ามาสอบถามก็ได้ครับ ถ้าตอบได้ผมจะตอบให้นะครับ 🙂

Facebook Comments Box