[Trick] Deploy Docker Images with Jenkins Pipeline

docker-jenkins-love

DevOps 101 วันนี้ มาขอเล่าเรื่อง trick ง่ายๆ ในการ deploy docker images กันครับ

1. เรื่อง Time Zone โดยปกติแล้ว ถ้าเราไม่กำหนด ตัว container ที่ run จะเป็น UTC นะครับ ในตัวอย่าง ถ้าอยากให้ Time Zone ตรงกับบ้านเรา (UTC +7) เราสามารถ เข้าไป กำหนดได้ง่ายๆ ประมาณนี้ครับ
Dockerfile

FROM python:3.9
ENV TZ="Asia/Bangkok"
RUN date

Build

docker build -t dockertest .

Run

docker run -it dockertest -c "date"

ถ้าเป็น alpine based image จะต้อง install tzdata ก่อน ประมาณนี้ครับ

RUN apk add --no-cache tzdata
ENV TZ Asia/Bangkok

2. เวลา run docker ด้วย tag:latest แล้ว อาจจะมี การ cache บน local ทำให้ ไม่ได้ image ล่าสุด เราสามารถแก้ไขได้โดย ใส่ options –pull=always ตัวอย่างเช่น

docker run --pull=always

3. ถ้าอยาก run Jenkins Pipeliine แบบ trigger ด้วย cron เราสามารถเพิ่ม cron เข้าไปได้ ประมาณนี้


pipeline {
    agent any
    triggers {
        cron('00 20 * * *')
    }

    stages {
        stage('Hello') {
            steps {
                echo 'Hello World'
            }
        }
    }
}

สำหรับการ Set Time Zone ในตัว Jenkins เอง ผมเคยเขียนรายละเอียดไว้แล้วครับ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://ton.packetlove.com/blog/devops/devops-101-jenkins-set-time-zone.html

อันนี้เป็น trick เล็กๆ น้อยๆ ที่เอามาเล่าสู่กันฟังนะครับ ที่เจอตอน deploy app ที่เป็น docker images ด้วย Jenkins Pipeline 🙂

DevOps 101 Nexus Repository

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึง tools อีกตัวนึง ที่สำคัญมาก ในการทำ CI/CD นะครับ
นั่นก็คือ Repository ที่เอาไว้เก็บของต่างๆ ของเรา ไม่ว่าจะเป็น docker images, libs, หรือ files binary ต่างๆ ที่นิยมกัน ก็จะมี JFrog Artifactory กับ Nexus วันนี้ ผมจะมาพูดถึงเจ้า Nexus กันนะครับ ..

รายละเอียด เพิ่มเติม https://www.sonatype.com/products/repository-pro

ความสามารถของเจ้า Nexus นั้นมีมากมายมากครับ และมี version ที่เป็น OSS อีกด้วย

ส่วนตัวที่ผมใช้ ก็จะใช้เป็น docker repository กับ docker proxy เพื่อใช้งาน ในองค์กร ทั้งแบบ On-Prem และแบบ Public ครับ หลายๆ ท่านอาจจะคุ้นกับ docker hub จะคล้ายๆ กันเลยครับ ..

อธิบายเพิ่มเติมนะครับ

Docker Repository = ที่เก็บ docker images ของเราครับ มองว่าเป็น docker hub ส่วนตัว ประมาณนั้นครับ ..
Docker Proxy = มองว่าเป็น proxy ที่ไปดึง docker images จากที่อื่นอีกที เช่นไปดึงจาก docker hub อะไรพวกนี้ .. ที่ต้องมี docker proxy นอกเหนือจากช่วย caching docker images แล้ว บางที่ network ภายใน ไม่สามารถ access public โดยตรงได้ ก็เลยต้องใช้เป็น docker repository (docker proxy) ภายในแทนครับ ..

มาดูวิธีการติดตั้งกันครับ ในที่นี่ จะติดตั้งแบบใช้ docker นะครับ (อันนี้ตามสะดวกเลยครับ)

1. Create directory nexus-data

mkdir ~/nexus-data

2. Docker Run

docker run -d -p 8081:8081 -p 5000:5000 -p 5001:5001 --name nexus -v ~/nexus-data:/nexus-data sonatype/nexus3

ที่เรา expose ออกมา 3 port ก็เพื่อเอาไว้ จัดการเรื่องต่างๆ ดังนี้ครับ
– Port 8081 สำหรับหน้า Nexus Dashboard
– Port 5000 สำหรับ docker pull
– Port 5001 สำหรับ docket push

3. จากนั้นเข้า หน้า Nexus Dashboard ด้วย IP:PORT

http://localhost:8081/

4. จะขึ้นหน้า ให้เรา Login จาก password ที่ได้จาก file admin.password

cat ~/nexus-data/admin.password
89e5664b-f748-49e4-a7dc-cdcc3febdd6b

5. เมื่อทำการ update new password เรียบร้อยแล้ว จะเข้ามาที่หน้าแรกของ nexus ให้คลิกที่ รูปเฟือง แล้วเลือก Repositories > Create repositories

Create repositories

6. จะเห็นว่า มีให้เราเลือกเยอะแยะมากมาย ว่าจะ create repositories ประเภทไหนกันบ้าง ..

Select Recipe

ในที่นี้ ผมจะเลือกเป็น docker (hosted) เพื่อเอาไว้เก็บ private docker images ที่เอาไว้ใช้กันเองภายในองค์กร หน่วยงาน แทน public docker repository พวก docker hub ..

7. เลือก Create repository: docker (hosted) ใส่ค่าต่างๆ ประมาณนี้

Name: docker-private
HTTP: 5001 (Port 5001 จะเอาไว้ใช้ docker push)

Create repository: docker (hosted)

8. ต่อมาเลือก Create repository: docker (proxy) ใส่ค่าต่างๆ ประมาณนี้

Name: docker-hub
Remote storage: https://registry-1.docker.io
Docker Index: Use Docker Hub

Create repository: docker (proxy)

9. จากนั้นเลือก Create repository: docker (group) เพื่อรวม docker (hosted) และ docker (proxy) เข้าด้วยกัน ใส่ค่าต่างๆ ประมาณนี้

Name: docker-group
HTTP: 5000 (Port 5000 จะเอาไว้ใช้ docker pull)

Create repository: docker (group)

ตรงด้านล่าง ในส่วนของ Group

Member repositories: ให้คลิกเลือก docker-private และ docker-hub มาอยู่ในส่วนของ Members

Member repositories

*** เพิ่มเติม ***

สำหรับ docker repository ที่ URL ไม่มี SSL (https) เราต้องทำการ set เพิ่มเติม ในส่วนของ Docker Desktop ให้รองรับ insecure-registries โดยไปที่ Preferences > Docker Engine จากนั้น เพิ่มส่วนนี้ลงไป ..

"insecure-registries": ["IP:5000", "IP:5001"],

โดย IP ก็คือ IP ของ Server เรา หรือถ้าเป็น domain ก็ใส่ ชื่อ domain ลงไป

insecure-registries

ในกรณีที่เรา ต้องการ ให้ docker pull ได้แบบ anonymous ไม่ต้องมีการ login
ให้มาติ๊กที่ Allow anonymous docker pull: ในส่วนของ docker-group ครับ

Allow anonymous docker pull:

จากนั้น ให้ไปที่ Realms เลือก Docker Bearer Token Realm เป็น Active

Docker Bearer Token Realm

จากนั้นไปที่ Anonymous Access ติ๊ก Allow anonymous users to access the server ในส่วนของ Realm: เลือก Docker Bearer Token Realm

Anonymous Access

มาถึงวิธีการทดสอบครับ

ให้เราลอง ทดสอบง่ายๆ ประมาณนี้

# Docker Login
docker login http://IP:5000
docker login http://IP:5001
# Docker Pull
docker pull IP:5000/nginx
# Docker Build
docker build -t IP:5000/demo-app .
# Docker Tag
docker tag IP:5000/demo-app IP:5001/demo-app
# Docker Push
docker push IP:5001/demo-app 
# Docker Run
docker run -p 5000:5000 IP:5000/demo-app 

เพียงเท่านี้ เราก็จะได้ docker repository ของเราเองมาใช้แล้วครับ 🙂

แล้วพบกับ การแนะนำ tools ต่างๆ ที่จำเป็น และมีประโยชน์ สำหรับ DevOps (CI/CD) ในตอนต่อไปเร็วๆ นี้ครับ ..

ทดสอบการใช้งาน OpenShift 4.2 (OCP4)

OCP4 (OpenShift 4.2)

สวัสดีครับ หลังจากที่ทดลองใช้งาน OpenShift 4.2 มาเดือนกว่าๆ ตั้งแต่เริ่มต้น Prepair Architecture
และร่วมกับ Vendor จากทาง Red Hat (MFEC) ทำการ Install ตลอดจนการแก้ไข จนเริ่มต้นใช้งานได้
เลยจะมาเขียนสรุปไว้เป็นความคิดเห็นสำหรับผู้ที่สนใจ จะใช้งานตัว OpenShift Container Platform (OCP4)

สำหรับตัว OpenShift 4.2 มีอะไรใหม่ๆ ออกมาเพิ่มเติมจาก 3.xx เยอะมาก อ่านรายละเอียดได้ที่
https://blog.openshift.com/introducing-red-hat-openshift-4-2-developers-get-an-expanded-and-improved-toolbox/

ในความคิดเห็นส่วนตัว สำหรับผม ที่ได้ลองเล่น ลองผิดลองถูกมาบ้าง ขอแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้

ข้อดี
– เป็น Enterprise Container Platform สำหรับ On-Premise ที่มี Support จาก Red Hat
– ใช้งานง่าย มี Template สำหรับหลายๆ Language ยอดนิยม, Database ที่เป็น Open Source และ CI/CD Tools
– มี Web Console ที่มี UI ใช้งานได้ง่าย แบ่งเป็น 2 Level คือ Developer/Admin
– มี CLI “oc” ที่ใกล้เคียงกับ “kubectl” ทำให้ใช้งานได้สะดวกสำหรับ คนที่ใช้ k8s มาก่อน
– สามารถ build microservices ได้จากหลากหลายวิธี จาก git และ template ที่มีมาให้
– สามารถมันจัดการ route ระดับ ingress ได้ดีมาก เราสามาถสำหนด endpoint ที่ต้องการได้ (HAProxy)
– มี Topology ที่ทำให้เห็น รายละเอียด และความสัมพันธ์ ระดับ service ได้ชัดเจน และจัดการตรงนี้ได้เลย
– มี Service Mesh ที่ทำให้รู้รายละเอียด ระดับ traffic ของแต่ละ service (Istio, Kiali and Jaeger)
– มี Images registry build-in มาด้วยในตัว
– มี Cloud-native CI/CD with Pipelines (Tekton) หรือจะใช้ Jenkins ด้วยก็ได้
– มี Dashboard และ Monitoring ที่ละเอียดจาก Grafana + Prometheus
– การใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน Container
– Documents ตัว OpenShift จาก Red Hat เอง ค่อนข้างละเอียด และดีมาก

ข้อเสีย
– ราคาสำหรับตัว Enterprise ค่อนข้างสูง
– การ Install ระบบค่อนข้างวุ่นวาย ต้องใช้ การ config DNS และ LB ในการ Install
– เนื่องจากเป็น CoreOS ทำให้ มี tools ต่างๆ ในการวิเคราะห์ปัญหา ติดมาด้วยน้อยมาก
– สำหรับคนที่เคยใช้ Docker หรือ Kubernetes (k8s) มาก่อน ก็ใช่ว่าจะใช้งานง่าย +___+
– ด้วยความที่เน้น เรื่อง security ทำให้ หลายๆ Docker Images ไม่สามารถใช้งานบน OCP4 ได้

สำหรับใครที่อยากทดสอบการใช้งาน ก็เข้าไป Download ตัว Red Hat CodeReady Containers (CRC)
มาทดลองเล่นดูก่อนก็ได้ครับ (เครื่องต้องสเปคสูงหน่อย)
https://developers.redhat.com/products/codeready-containers

ผมเองก็ยังมือใหม่สำหรับ OpenShift 4.2 แต่แนวโน้ม บริษัทขนาดใหญ่ จะไปทางนี้กันหมด
ศึกษาไว้ ก็ไม่เสียหาย ใครที่ทดลองใช้งาน แล้วติดปัญหายังไง หรือมีอะไรจะแนะนำ
ก็เข้ามาพูดคุยกันได้นะครับ LINE ID: pornpasok 🙂