ลองใช้ Argo CD deploy application บน EKS

Argo CD Dashboard
Argo CD Dashboard

DevOps 101 ของเราวันนี้ จะมาทดลองใช้งาน Argo CD กันนะครับ .. ว่ามันดียังไง ทำอะไรได้บ้าง และเหมาะกับใคร? Logo ของ Argo CD ก็น่ารักดีครับ เป็นรูป มนุษย์ต่างดาว หรือ หมึก ก็ไม่รู้ ..

นิยามที่ทาง Argo CD เค้าบอกไว้ ในเว็บเค้าเองก็คือ ..

What Is Argo CD?
“Argo CD is a declarative, GitOps continuous delivery tool for Kubernetes.”

ถ้าสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ เป็น Tools สำหรับทำ CD (Continuous Delivery) ที่ตรงไปตรงมา
ไม่ซับซ้อน สำหรับ deploy Application บน k8s ด้วยการใช้หลักการของ GitOps

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://argo-cd.readthedocs.io/

เท่าที่ลองเล่นดู หลังจากที่เรามี k8s cluster แล้ว (ในที่นี่ผมใช้ EKS) เราก็จะต้อง Install เจ้า Argo CD ใน k8s cluster ของเรา จากนั้น เราก็จะใช้ความสามารถของ Argo CD ได้ ด้วยการผูกกับ Git Repository ที่ใช้ในการ deploy Application ของเรา เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยครับ .. เมื่อเรามีการเปลี่ยนแปลง configuration บน git เจ้า Argo CD ก็จะมา sync config ไป deploy บน k8s cluster ให้เรา ..

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ YouTube ของ Nana ได้ที่นี่ครับ : https://www.youtube.com/watch?v=MeU5_k9ssrs

สรุปความคิดเห็นส่วนตัว ที่ลองใช้งาน (ยังไม่ได้ใช้จริงๆ จังๆ บน Production)

ข้อดี
– Install ง่ายมาก ไม่เจอปัญหาอะไรเลย ใช้ resource น้อยมาก
– ไม่ต้องวุ่นวาย เรื่องการ Install kubectl เพราะอยู่ใน k8s cluster อยู่แล้ว
– ไม่ต้องวุ่นวาย เรื่องการจัดการ Credentials ในการเข้าถึง k8s cluster
– มี Dashboard ที่แสดงรายละเอียด ของการ deploy Application ได้ละเอียด ครบถ้วน
– Sync manifest จาก Git Repository ได้รวดเร็ว
– หน้าตาดูดี สวยงาม

ข้อเสีย
– Deploy (CD) บน k8s cluster ได้เท่านั้น
– ในส่วนของ CI (Continuous Integration) ยังต้องใช้ 3rd-party อื่นช่วย ไม่ว่าจะเป็น GitHub Action, GitLab CI, Jenkins
– ถ้าดูพวก Metrics ได้ด้วย น่าจะดีเลย แต่คิดว่า คงออกแบบมา ให้ simple ทำงาน CD ได้อย่างดี ก็พอ

[Trick] Deploy Docker Images with Jenkins Pipeline

docker-jenkins-love

DevOps 101 วันนี้ มาขอเล่าเรื่อง trick ง่ายๆ ในการ deploy docker images กันครับ

1. เรื่อง Time Zone โดยปกติแล้ว ถ้าเราไม่กำหนด ตัว container ที่ run จะเป็น UTC นะครับ ในตัวอย่าง ถ้าอยากให้ Time Zone ตรงกับบ้านเรา (UTC +7) เราสามารถ เข้าไป กำหนดได้ง่ายๆ ประมาณนี้ครับ
Dockerfile

FROM python:3.9
ENV TZ="Asia/Bangkok"
RUN date

Build

docker build -t dockertest .

Run

docker run -it dockertest -c "date"

ถ้าเป็น alpine based image จะต้อง install tzdata ก่อน ประมาณนี้ครับ

RUN apk add --no-cache tzdata
ENV TZ Asia/Bangkok

2. เวลา run docker ด้วย tag:latest แล้ว อาจจะมี การ cache บน local ทำให้ ไม่ได้ image ล่าสุด เราสามารถแก้ไขได้โดย ใส่ options –pull=always ตัวอย่างเช่น

docker run --pull=always

3. ถ้าอยาก run Jenkins Pipeliine แบบ trigger ด้วย cron เราสามารถเพิ่ม cron เข้าไปได้ ประมาณนี้


pipeline {
    agent any
    triggers {
        cron('00 20 * * *')
    }

    stages {
        stage('Hello') {
            steps {
                echo 'Hello World'
            }
        }
    }
}

สำหรับการ Set Time Zone ในตัว Jenkins เอง ผมเคยเขียนรายละเอียดไว้แล้วครับ อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://ton.packetlove.com/blog/devops/devops-101-jenkins-set-time-zone.html

อันนี้เป็น trick เล็กๆ น้อยๆ ที่เอามาเล่าสู่กันฟังนะครับ ที่เจอตอน deploy app ที่เป็น docker images ด้วย Jenkins Pipeline 🙂