ทดสอบการใช้งาน OpenShift 4.2 (OCP4)

OCP4 (OpenShift 4.2)

สวัสดีครับ หลังจากที่ทดลองใช้งาน OpenShift 4.2 มาเดือนกว่าๆ ตั้งแต่เริ่มต้น Prepair Architecture
และร่วมกับ Vendor จากทาง Red Hat (MFEC) ทำการ Install ตลอดจนการแก้ไข จนเริ่มต้นใช้งานได้
เลยจะมาเขียนสรุปไว้เป็นความคิดเห็นสำหรับผู้ที่สนใจ จะใช้งานตัว OpenShift Container Platform (OCP4)

สำหรับตัว OpenShift 4.2 มีอะไรใหม่ๆ ออกมาเพิ่มเติมจาก 3.xx เยอะมาก อ่านรายละเอียดได้ที่
https://blog.openshift.com/introducing-red-hat-openshift-4-2-developers-get-an-expanded-and-improved-toolbox/

ในความคิดเห็นส่วนตัว สำหรับผม ที่ได้ลองเล่น ลองผิดลองถูกมาบ้าง ขอแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้

ข้อดี
– เป็น Enterprise Container Platform สำหรับ On-Premise ที่มี Support จาก Red Hat
– ใช้งานง่าย มี Template สำหรับหลายๆ Language ยอดนิยม, Database ที่เป็น Open Source และ CI/CD Tools
– มี Web Console ที่มี UI ใช้งานได้ง่าย แบ่งเป็น 2 Level คือ Developer/Admin
– มี CLI “oc” ที่ใกล้เคียงกับ “kubectl” ทำให้ใช้งานได้สะดวกสำหรับ คนที่ใช้ k8s มาก่อน
– สามารถ build microservices ได้จากหลากหลายวิธี จาก git และ template ที่มีมาให้
– สามารถมันจัดการ route ระดับ ingress ได้ดีมาก เราสามาถสำหนด endpoint ที่ต้องการได้ (HAProxy)
– มี Topology ที่ทำให้เห็น รายละเอียด และความสัมพันธ์ ระดับ service ได้ชัดเจน และจัดการตรงนี้ได้เลย
– มี Service Mesh ที่ทำให้รู้รายละเอียด ระดับ traffic ของแต่ละ service (Istio, Kiali and Jaeger)
– มี Images registry build-in มาด้วยในตัว
– มี Cloud-native CI/CD with Pipelines (Tekton) หรือจะใช้ Jenkins ด้วยก็ได้
– มี Dashboard และ Monitoring ที่ละเอียดจาก Grafana + Prometheus
– การใช้งานง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน Container
– Documents ตัว OpenShift จาก Red Hat เอง ค่อนข้างละเอียด และดีมาก

ข้อเสีย
– ราคาสำหรับตัว Enterprise ค่อนข้างสูง
– การ Install ระบบค่อนข้างวุ่นวาย ต้องใช้ การ config DNS และ LB ในการ Install
– เนื่องจากเป็น CoreOS ทำให้ มี tools ต่างๆ ในการวิเคราะห์ปัญหา ติดมาด้วยน้อยมาก
– สำหรับคนที่เคยใช้ Docker หรือ Kubernetes (k8s) มาก่อน ก็ใช่ว่าจะใช้งานง่าย +___+
– ด้วยความที่เน้น เรื่อง security ทำให้ หลายๆ Docker Images ไม่สามารถใช้งานบน OCP4 ได้

สำหรับใครที่อยากทดสอบการใช้งาน ก็เข้าไป Download ตัว Red Hat CodeReady Containers (CRC)
มาทดลองเล่นดูก่อนก็ได้ครับ (เครื่องต้องสเปคสูงหน่อย)
https://developers.redhat.com/products/codeready-containers

ผมเองก็ยังมือใหม่สำหรับ OpenShift 4.2 แต่แนวโน้ม บริษัทขนาดใหญ่ จะไปทางนี้กันหมด
ศึกษาไว้ ก็ไม่เสียหาย ใครที่ทดลองใช้งาน แล้วติดปัญหายังไง หรือมีอะไรจะแนะนำ
ก็เข้ามาพูดคุยกันได้นะครับ LINE ID: pornpasok 🙂

Facebook Comments Box

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *