Web Infrastructure

Web Infrastructure

วันนี้ มีเวลานิดหน่อย ก็เลยมาเล่าถึงเรื่อง Web Infrastructure กัน ว่าแต่ละระบบ
เรียงจากขนาดเล็ก มาจนถึงขนาดใหญ่ มีวิิธีการวาง Infrastructure และแนวคิด
ในการวางระบบต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะให้รองรับกับจำนวนผู้ใช้งานได้ตาม
ที่ต้องการ ในที่นี้ ผมแบ่งออกเป็นย่อยๆ ประมาณ 6 ระดับครับ มาดูกันเลย  ..

1. จะมี service ทุกอย่างรวมกันอยู่ในเครื่องเดียว ทั้ง web server, DB และอื่นๆ
ใน 1 เครื่อง อาจจะมีจำนวนหลายเว็บ แบบนี้ก็ประเภท web hosting ต่างๆ

2. เมื่อมีคนเข้าเยอะขึ้น เครื่องเดียวทำงานไม่ไหว ก็ต้องมีการแยก web server กับ DB
ออกจากกัน เพื่อให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากขึ้น การแยก
web server ออกจาก DB นั้น ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง security หลายๆ คนเข้าใจผิด คิดว่า
การแยกออกจากกันเพื่อเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้วเพื่อ performance อย่างเดียวจริงๆ

3. เมื่อระบบแบบที่ 2 รองรับไม่ไหว เราก็ต้องเพิ่มเครื่อง caching มาช่วยจัดการกับ
static file เช่นพวก jpg, gif, png, html เพื่อทำให้ web server ทำงานได้เบาลง
พวก caching ที่นิยมใช้งานก็เป็นพวก varnish, squid, nginx และพวก lighthttpd
อื่นๆ ที่เก่งในเรื่องการทำงานกับ static file แทน apache2 ที่ทำงานหนักกว่า ..

4. เมื่อเรามี caching มาช่วย web server แล้ว ปัญหาที่ตามมาอีกก็คือ ทางฝั่ง DB บ้าง
ก็จะเริ่มหนัก เราก็เลยต้องมีวิธีการแบ่ง Read/Write ออกจากกัน โดยที่ data ต้องเหมือนกัน
ในกรณีที่ใช้ MySQL เราก็จะทำ MySQL Replication แยก Read/Write ออกจากกัน
เพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว จะเป็น Read ประมาณ 90%  Write ประมาณ  10% เท่านั้น ในกรณีนี้
ถ้าเครื่องเดียว ยังไม่เพียงพอกับการ Read เราก็สามารถเพิ่ม MySQL Slave เข้าไปได้
ให้เพียงพอกับจำนวน Read ที่เราต้องการ

5. ในเมื่อโครงสร้างเดิมๆ 1-4 ไม่สามารถรองรับกับจำนวนคนใช้งานได้แล้ว เราก็จำเป็นต้อง
มี LB (Load Balancer)  เข้ามาช่วยเป็นตัวจัดการกระจาย load ให้ระบบของเราให้เท่าๆ กัน
LB มีให้เลือกใช้งานมากมาย ทั้งที่เป็น S/W และ H/W ถ้ามีทุนมากหน่อย ก็เลือกแบบ H/W
ก็จะทำให้การจัดการทำได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าต้องการประหยัด S/W LB หลายๆ ตัวก็ทำได้ดี
ในโครงสร้างรูปที่ 5 เราจะใช้ LB มาแบ่ง load ระหว่าง caching 2 ตัว ที่อยู่หน้า web server
เมื่อตัวใดตัวนึงมีปัญหา ระบบก็จะยังใช้งานได้ปกติ ในส่วนของ web server เองก็เช่นกัน เรามี
LB มาเป็นตัวช่วยกระจาย load โดยที่ web server ทุกตัวจะ mount file จาก NFS กลาง
ทำให้ทุกเครื่องมี data ที่เหมือนกัน เมื่อเครื่องใดเครื่องนึง มีปัญหาระบบก็ยังจะทำงานต่อไปได้
ส่วน DB ก็ใช้วิธีการแยก Read/Write เหมือนกับระบบที่ 4

6. เมื่อโครงสร้างแบบที่ 5 เริ่มรองรับไม่ไหว เราก็ต้องมีวิธีวางแผนกันใหม่ สิ่งที่ดีที่สุด ก็คือ
การแยก static กับ dynamic ออกจากกัน แล้วก็เอาเรื่องของ memory เข้ามาช่วย นอกนั้น
ส่วนอื่นๆ ก็คล้ายๆ กับโครงสร้างแบบที่ 5

เอาไว้เท่านี้ก่อนละกันครับ เดี๋ยววันหลังมาเขียนเพิ่มเติมครับ งานเข้าละ  🙂

CodeIgniter nginx Rewrite Rule

สวัสดีครับ วันนี้เจอเรื่องปวดหัวนิดหน่อย เกี่ยวกับการเขียน rewrite ของ nginx
ให้ codeigniter  สามารถทำงานได้ เพราะปกติบน apache2 จะใช้ .htaccess
ผมจะไม่พูดถึงการ install nginx+PHP Fast-CGI  นะครับ เพราะคิดว่าหาอ่านได้
ไม่ยากนัก แต่จะพูดถึงการเขียน rewrite ที่ทำให้ nginx ทำงานร่วมกับ codeigniter
มาดูกันเลยครับ ขั้นตอนมีดังนี้

location /
{
index index.php;
root /path/to/your/ci/directory;

if ($request_filename !~ (js|css|images|robots\.txt|index\.php.*) ) {
rewrite ^/(.*)$ /index.php/$1 last;
}
}

location ~ /index.php/
{
include /usr/local/nginx/conf/fastcgi.conf;
fastcgi_index index.php;
fastcgi_param SCRIPT_FILENAME /path/to/your/index.php;
fastcgi_param REQUEST_URI $request_uri;
fastcgi_param QUERY_STRING $query_string;
fastcgi_param REQUEST_METHOD $request_method;
fastcgi_param CONTENT_TYPE $content_type;
fastcgi_param CONTENT_LENGTH $content_length;
fastcgi_pass 127.0.0.1:9000;
}

จากนั้นทำการแก้ไข file application/config/config.php ของตัว CodeIgniter
ให้เป็น $config[‘uri_protocol’]  = “REQUEST_URI”;
เท่านี้ก็จะทำให้เราสามารถใช้งาน CodeIgniter กับ nginx ได้แล้วครับ ..

Cherokee Web Server

Cherokee Web Server

Cherokee Web Server http://www.cherokee-project.com/

The Fastest free Web Server out there!

Cherokee is a very fast, flexible and easy to configure Web Server. It supports the widespread technologies nowadays: FastCGI, SCGI, PHP, CGI, uWSGI, SSI, TLS and SSL encrypted connections, Virtual hosts, Authentication, on the fly encoding, Load Balancing, Apache compatible log files, Data Base Balancing, Reverse HTTP Proxy, Traffic Shaper, Video Streaming and much more.

Cherokee-Admin, a user friendly interface, provides a no-hassle configuration of the server. Check out the benchmarks and documentation to learn more, join our active Community and give it a try to squeeze your hardware to the fullest!

หายไปหลายวันครับ ไม่ได้มา update blog ช่วงนี้ก็เหมือนเดิม วุ่นๆ อยู่กับการคิดอะไรหลายๆ อย่าง
ตอนนี้ก็กำลัง plan เรื่อง infra ของปีหน้า ที่เว็บจะเติบโตกว่าเดิมอีกเท่าตัว แต่อยากรีด performance
Server ที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด เรื่องสำคัญก็คือเรื่องของ Web Server ที่ทำงานได้ดี เร็ว และใช้ resource
น้อยที่สุด และรัน PHP ได้ statble ที่สุด เท่าที่ลองหลายๆ ตัวแล้ว benchmark ดู ทั้ง apache13
apache2, lighttpd, nginx, cherokee, litespeed แล้วสรุปว่า cherokee เหมาะกับงานมากที่สุด
ส่วนวิธีการ benchmark และค่าที่ได้าจากการ benchmark เดี๋ยวผมจะนำมาลงให้ดูกันวันหลังครับ ..